วางแผนการเงินกับ คุณนายตุ๊กติ๊ก EP.1 Cash Flow Management

อ่าน 488


ฉบับย่อ

ในส่วนแรกเราจะเริ่มมองเห็นว่าการวางแผนการเงินเริ่มจากเรื่องใกล้ตัวและเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันจริงๆ นั่นคือ การบริหารงบดุลส่วนบุคคลตัวเอง ให้เหมาะสม เช่น มีสภาพคล่องเพียงพอ ไม่มีหนี้มากเกินไป นอกจากนี้การทำบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนตัวจะทำให้เรารู้ว่า เรามีจุดแข็ง จุดอ่อน ในการบริหารรายรับรายจ่ายหรือไม่ และปิดจุดอ่อนด้วยการนำ Cash Flow ไปบริหารให้งอกเงยในแผนการเงินต่อไป


    การวางแผนการเงิน คือ กระะบวนการในการจัดทำแผนการเงินส่วนบุคคล เพื่อทำให้เราสามารถบรรลุเป้าหมายชีวิตตามลำดับความสำคัญที่ต้องการได้ ทั้งนี้การวางแผนการเงินไม่ได้เป็นแผนที่จัดทำเพื่อคนมีเงินเท่านั้น แต่การวางแผนทางการเงิน คือ แผนการเพื่อให้เรามีเงินใช้จ่ายและมีความสุข เพียงพอในทุกช่วงวัยไปตลอดชีวิตและเพื่อให้เป็นการวางแผนที่ครอบคลุมทุกช่วงวัยของชีวิต เรามักจะเริ่มวางแผนจากรากฐานหรือความจำเป็นก่อน โดยจะเห็นการอธิบายออกมาเป็นภาพที่เราเรียกว่า สามเหลี่ยมทางการเงิน หรือ ปิรามิดทางการเงิน

      เรื่องของการวางแผนการเงินกับ คุณนายตุ๊กติ๊ก จึงจะใช้ ปิรามิดทางการเงิน มาเป็นกรอบในการเล่าเรื่องค่ะ

       ปิรามิดทางการเงินประกอบไปด้วย

     1.Cash Flow Management

     2.Protection

     3.saving

    4.Investment

    5.Tax Planning

   6.Wealth Transfer

               ในส่วนแรกนี้เราจะเริ่มต้นกันที่ Cash Flow Management เพื่อเป็นการสุขภาหรือไพทางการเงิน ของเราว่ามีความแข็งแรง เพียงพอตั้งแต่ขั้นเริ่มต้นหรือไม่ เราจะใช้เครื่องมือ 2  ได้แก่

       1.งบดุลส่วนบุคคลใช้แสดงสถานะทางการเงินของเราขณะใด ขณะหนึ่ง ดังนั้นในงบดุลส่วนบุคคลจะประกอบด้วย

1.) สินทรัพย์ แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • สินทรัพย์สภาพคล่อง แปลงเป็นเงินสดได้คล่องที่สุด
  • สินทรัพย์ลงทุน เป็นทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนเป็นตัวเงิน
  • สินทรัพย์ใช้ส่วนตัว เป็นสินทรัพย์ส่วนตัวที่มีมูลค่า

2.) หนี้สินจะมีทั้งหมด 2 ประเภท ได้แก่

  • หนี้สินระยะสั้น เป็นหนี้สินที่ต้องชำระภายใน 1 ปี
  • หนี้ระยะยาว เป็นหนี้ที่ใช้เวลาผ่อนชำระเกินกว่า 1 ปี

3.) ความมั่งคั่ง ความมั่งคั่งจะคิดจากสินทรัพย์ทั้งหมดลบด้วยหนี้สินทั้งหมด จะสามารถบอกได้ว่าเรามี "ความมั่งคั่งสุทธ" เท่าไหร่

  • ค่าบวกยิ่งความมั่งคั่งสุทธิมากก็จะยิ่ีงดี
  • ถ้าติดลบแสดงว่าเป็นหนี้มากกว่าสินทรัพย์ที่นั่นเอง

     2.งบกระแสเงินสดเป็นรายงานที่แสดงรายรับ รายจ่าย และเงินคงเหลือทำให้เรานำไปใช้ประกอบการทำแผนการเงินได้

1.)กระแสเงินสดรับ จะเป็นเงินที่เราได้รับในช่วงเวลานั้น เช่น รายได้จากการทำงาน เงินเดือน กำไร ค่าเช่า ค่าล่วงเวลา

2.)กระแสเงินสดจ่าย จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

  • กระแสเงินสดจ่ายเพื่อการออมและลงทุน
  • กระแสเงินสดจ่ายคงที่ เป็นรายจ่ายที่ต้องจ่ายเท่าๆกันในทุกๆช่วง เช่น ค่างวดบ้าน ค่างวดรถ ประกันสังคม
  • กระแสเงินสดจ่ายผันแปร เป็นรายจ่ายที่ไม่เท่ากันในแต่ละช่วงเวลา เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง

3.กระแสเงินสดสุทธิ มาจากการนำกระแสเงินสดจ่ายรวมทั้งหมดมาลบจากกระแสเงินสดรับ

สุขภาพทางการเงินที่ดี

1.มีสภาพคล่องเพียงพอ หรือมีเงินสำรองฉุกเฉิน 3 - 6 เดือน

2.หนี้สินไม่มากจนเกินไป เกณฑ์ทั่วไปไม่ควรเกิน 40% ของรายรับต่อเดือน ซึ่งเกณฑ์นี้เป็นเกณฑ์คร่าวๆ ที่สถานบันการเงินใช้พิจารณาสินเชื่อด้วย

3.ออมและลงทุนเหมาะสม

  • ออมและลงทุนที่เหมาะสม ไม่ควรต่ำกว่า 10% ของรายได้ (ออมก่อนใช้)
  • สินทรัพย์ลงทุนที่ดีไม่ควรต่ำกว่า 50% ของความมั่งคั่งสุทธิ

4.มีรายได้มากกว่า 1 ช่องทางจะเยี่ยมมากๆ


ประกันโรคร้ายแรง    ประกันควบการลงทุน    ประกันลดหย่อนภาษี    วางแผนมรดก    ลงทุน    จัดการภาษี    การออม    วางแผนการเงิน   
อ้างอิง