แนวรับ-แนวต้าน เทคนิคสำคัญ ใช้ได้ทุกกราฟ

อ่าน 266


ฉบับย่อ

การวิเคราะห์แนวรับ-แนวต้าน เกิดจากสมมุติฐานการเคลื่อนที่ของราคา สาเหตุที่ทำให้ราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง


จุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์แนวรับ-แนวต้าน

เกิดจากสมมุติฐานการเคลื่อนที่ของราคา  สาเหตุที่ทำให้ราคามีการเคลื่อนไหวขึ้นหรือลง  เกิดจากความแตกต่างระหว่างความต้องการซื้อและความต้องการขายของตลาด ถ้าช่วงใดที่มีคนอยากซื้อมากกว่าคนอยากขายจะเป็นเหตุให้ราคาปรับตัวสูงขึ้น  แต่ถ้าช่วงใดมีคนอยากขายมากกว่าคนอยากซื้อราคาก็จะปรับตัวลง


คำนิยามของแนวรับ

คำนิยามของแนวรับ คือ ระดับราคาที่ต่ำกว่าราคาในปัจจุบันที่ คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการซื้อเข้ามาอย่างมากหรือมีคนสนใจซื้อเป็นจำนวนมาก 

ถ้าความต้องการซื้อมีเข้ามาจำนวนมากพอ ก็จะสามารถหยุดไม่ให้ราคาปรับตัวลดต่ำลงไปกว่าระดับราคาแนวรับ และอาจจะทำให้ราคากลับตัวจากขาลงเป็นขาขึ้น โดยการหาแนวรับนิยมหาตอนที่ราคากำลังปรับตัวลดลง



แนวรับในทางจิตวิทยาเกิดขึ้นได้อย่างไร?



คำนิยามของแนวต้าน



แนวต้านในมุมมองของการวิเคราะห์ทางเทคนิคจะมีความหมายกลับกันกับแนวรับ ซึ่งคำนิยามของแนวต้าน คือ ระดับราคาที่คาดการณ์ว่าจะมีความต้องการขายเข้ามาอย่างมาก หรือมีคนสนใจขายเป็นจำนวนมาก

ถ้าความต้องการขายมีเข้ามาจำนวนมากพอจะสามารถหยุดไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นไปมากกว่าระดับราคาที่เป็นแนวต้าน และอาจจะทำให้ราคากลับตัวจากขาขึ้นเป็นขาลง โดยการหาแนวต้านนิยมหาตอนที่ราคากลับปรับตัวสูงขึ้น



แนวต้านในทางจิตวิทยาเกิดขึ้นได้อย่างไร?




รูปแบบกราฟแนวรับ-แนวต้านทั้งหมด 4 รูปแบบที่น่าสนใจ


      



1. จุดสูงสุดหรือจุดต่ำสุดก่อนหน้า (Previous High & Previous Low)



2. เส้นแนวโน้ม เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่


เหตุผลในการพิจารณาเส้นแนวโน้มเป็นแนวรับหรือแนวต้าน เนื่องจากเมื่อเราลากเส้นแนวโน้มขึ้นมาได้ 1 เส้น ไม่ว่าจะเป็นเส้นแนวโน้มขาขึ้น หรือเส้นแนวโน้มขาลงก็ตาม ตลอดช่วงที่ลากเส้นแนวโน้มขึ้นมาได้จะไม่มีช่วงไหนเลยที่ราคาข้ามเส้นแนวโน้ม แปลว่าเส้นแนวโน้มได้แบ่งพื้นที่กราฟออกเป็น 2 ส่วนอย่างชัดเจน เราจึงเชื่อว่าถ้าแนวโน้มจะยังคงทิศทางเดิมอยู่ ราคาไม่ควรจะตัดข้ามเส้นแนวโน้ม

สำหรับแนวโน้มขาขึ้นไม่มีช่วงเวลาไหนเลย หรือถ้ามีก็เป็นระยะเวลาที่สั้นมากๆที่ราคาลดต่ำลงกว่าเส้นแนวโน้มขาขึ้น

และสำหรับเส้นแนวโมขาลงก็ไม่มีช่วงเวลาไหนเลยหรือถ้ามีก็เป็นระยะเวลาที่สั้นมาก ๆ เช่นกันที่ราคาลดต่ำลงกว่าเส้นแนวโน้มขาลง

“นักเทคนิคจึงพิจารณา หาจังหวะซื้อเมื่อระดับราคาเข้าใกล้เส้นแนวโน้มขาขึ้น จึงเป็นที่มาของเส้นแนวโน้มขาขึ้นทำหน้าที่เป็นแนวรับ และหาจังหวะขายเมื่อราคาดับราคาเข้าใกล้เส้นแนวโน้มขาลง จึงเป็นที่มาของเส้นแนวโน้มขาลงทำหน้าที่เป็นแนวต้าน”



เส้นแนวโน้ม Trend Line



สร้างแนวรับ-แนวต้านจากส้นMA



สำหรับไอเดียในการวิเคราะห์ทางเทคนิคนั้น เส้นแนวโน้มไม่จำเป็นต้องเป็นเส้นตรงแต่เพียงอย่างเดียว เราอาจวาดเส้นแนวโน้มที่มีลักษณะเป็นเส้นโค้งก็ได้ โดยใช้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (Moving Average) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัด (Indicators) ประเภทหนึ่ง โดยจะเห็นได้ว่า ถ้าเราเลือกค่าตัวแปรที่เหมาะสมของเส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สำหรับแต่ละตัว เมื่อราคาเคลื่อนที่เข้ามาใกล้เส้นค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่นั้น จะสามารถพิจารณาให้เป็นแนวรับหรือแนวต้านได้



3. ระดับราคาที่มีการเคลื่อนที่ในแนวราบ (Horizontal Consolidation Region : HCR)

การเคลื่อนที่ในแนวราบ แสดงให้เห็นถึงราคา ณ บริเวณนั้นมีความสำคัญ เราจะมองว่ามันเป็นบริเวณแนวรับแนวต้านได้เช่นกัน



4. สัดส่วนฟิโบนาชี่ (Fibonacci Ratio)


การวิเคราะห์ Fibonacci Ratio มีวัตถุประสงค์เพื่อหาระดับราคาที่เป็นแนวรับ-แนวต้าน เป็นเครื่องมือที่ไม่สามารถอธิบายเหตุผลได้ตามหลักจิตวิทยา ว่าทำไมระยะการเคลื่อนที่ขึ้นลงของกราฟราคาจึงสามารถวัดเป็นสัดส่วน Fibonacci กันได้ 

จากการสังเกตพบว่า บ่อยครั้งเวลาที่ราคามีพักฐานในช่วงแนวโน้มขาขึ้นหรือ Reboundในช่วงแนวโน้มขาลง มักจะจบการพักฐาน หรือจบการ Reboundที่สัดส่วน Fibonacci สัดส่วนใดสัดส่วนหนึ่งได้แก่

0

0.382   (38.2%)

0.500   (50%)

0.618   (61.8%)

0.764 หรือ 0.786 (76.4% หรือ 78.6%)

1.000  (100%)



รูปตัวอย่างแสดงกราฟที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น จะเห็นได้ว่าช่วงที่ราคาลดลงเป็นการปรับฐาน (สีขาว) จะมีส่วนสูงคิดเป็น 0.500 (50%) ของช่วงที่ราคามีการปรับตัวสูงขึ้นก่อนหน้า (สีเขียว) ซึ่งคิดเป็นส่วนสูง 1.000 (100%)

*หมายเหตุ : สัดส่วน Fibonacci ทุก ๆ ค่าไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่เป็นแนวรับ-แนวต้านเสมอไป เช่น เมื่อราคาปรับฐานลงมาถึงสัดส่วน 0.382 ที่ระดับราคานี้ไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่เป็นแนวรับก็ได้ หรือเมื่อราคาปรับฐานลงมาถึงสัดส่วน 0.500 ที่ระดับราคานี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่เป็นแนวรับอีกเช่นเดียวกัน หรือเมื่อราคาปรับฐานลงมาถึงสัดส่วน 0.618 ที่ระดับราคานี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำหน้าที่เป็น แนวรับอีกเช่นเดียวกัน

* แต่ว่าที่ระดับราคาที่เป็นสัดส่วน Fibonacci มักเป็นจุดที่การปรับฐานของราคาสิ้นสุดลง และราคามีการเคลื่อนที่ไปต่อในทิศทางเดิม ดังนั้นเวลาใช้งานเครื่องมือ
Fibonacci Retarcement จะใช้เมื่อราคาเริ่มมีการปรับฐาน หรือมีการ Rebound โดยนักเทคนิคจะวาดเส้นแนวนอนที่เป็นสัดส่วน Fibonacci ทิ้งไว้ล่วงหน้า เมื่อราคาปรับตัวลดลงมาถึงระดับราคาที่เป็นแต่ละสัดส่วนของ Fibonacci เราก็จะติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ที่ระดับราคานั้น ๆ มีแรงซื้อเข้ามามากหรือไม่ 


Forex    แนวรับ    แนวต้าน    หุ้น    Cryptocurrency    วางแผนเทรด   
อ้างอิง

- เปิญบัญชีเทรด FOREX